วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิธีการใช้งาน Hikarunix 0.4

เนื่องจากบทความที่ผ่านมาได้แต่เกริ่นๆวิธีการใช้งานเจ้า Hikarunix 0.4 ^^ ในบทความนี้ก็จะขอพูดถึงเรื่องการใช้งาน Hikarunix 0.4 แบบจริงๆจังๆสักที
การใช้งาน Internet Browser
เนื่องจากใน Hikarunix นั้นจะมี browser มาให้อยู่แล้วซึ่งก็คือเจ้าหมาป่าไฟ หรือ Firefox นั่นเอง ^^การใช้งานfirefox ใน Hikarunix นั้นแทบจะไม่ได้ต่างกับเราใช้ firefox ใน Window เลย ใช้งานสะดวกมากๆ เริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน firefox บนเดสทอป ดังรูปข้างล่าง...
ดับเบิ้ลคลิกที่ firefox เพื่อเปิดใช้งาน browser

เมื่อเปิด firefox ขึ้นมาหน้าต่างนี้จะเป็นหน้าต่างแรกที่เราจะเห็น
(สงสัยจะกลัวว่าคนอื่นไม่รู้ว่าเป็น os สำหรับคนชอบเล่นโกะ อิอิ)



จากนั้นก็ลองเข้าเวบไซต์ยอดนิยม www.google.com นั่นเอง
พบว่าการแสดงผลออกมาก็ปรกติอยู่ในระดับน่าพอใจ
แต่ในการใช้งานจริงการแสดงผลภาษาไทยยังดูค่อนข้างอ่านยาก


สังเกตุบริเวณแถบ favorite ให้ดี Hikarunix นั้นจะเซต เวบไซต์
ที่คอยให้ความรู้และให้ข้อมูล เทคนิคการเล่นหมากล้อมเยอะมาก

การใช้งาน Messenger ใน Hikarunix
การใช้งาน Messenger นั้นจากที่เราได้ทำการทดลองดาวน์โหลด messenger สำหรับลินุกส์ มาหลายตัวปรากฏว่ามันต้องใช้คอมไพล์เลอร์ของภาษาซี ซึ่งค่อนข้างที่จะยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ที่เริ่มต้นใช้ ลินุกส์ ผมจึงแนะนำว่าให้ใช้งาน messenger ผ่านทาง web messenger ดีกว่า ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มี web messenger ที่น่าใช้อยู่หลายตัวไม่ว่าจะเป็น ebuddy meebo iloveim เป็นต้น ซึ่งมันจะสดวกสะบายกว่า และอีกเหตุผลนึงคือถึงแม้ว่าเราจะลงโปรแรม messenger ได้แต่ hikarunix นั้นเป็นแบบ live cd ทำให้ไฟล์หรือโปรแกรมที่เราลงไว้หายไปตอนเราเปิดมันขึ้นมา(เพราะว่ามันจะเก็บข้อมูลในแรม - -)


เข้า web messenger ยอดนิยม^^ www.ebuddy.com ก็จะพบกับหน้าต่างล็อกอินดังรูป




                                 แล้วจากนั้นให้เราพิมพ์ .....
                                 Passport = คือใส่อีเมลของเรา
                                 Password = รหัสผ่านของเรา
                                 Remember passport = คือจะให้จำอีเมลของเราอีกหรือไม่
                                 Sign in as แสดงว่าออฟไลน์  = เหมือนกับ appear offline ใน MSN

เมื่อล็อกอินแล้ว web messenger ก็จะมีหน้าตาดังรูป

การใช้โปรแกรมที่น่าสนใจเบื้องต้น
ใน Hikarunix นั้นมีโปรแกรมที่น่าสนใจอยู่มากมาย เพียงพอต่อการใช้งานครบคลุมแทบจะทุกด้านไม่ว่าจะเป็นงานด้านเอกสาร ตัดต่อรูป การเล่นอินเตอร์เน็ต หรือไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมทางด้านความบันเทิง ก็มีมาให้ครบถ้วน ถึงแม้ว่าหน้าตาของโปรแกรมจะค่อนข้างแตกต่างกับวินโดวส์อยู่บ้าง แต่ถ้าหากเราคุ้นเคยกับมันแล้วก็จะรู้สึกได้ว่ามันก็มีดีเหมือนกัน ไม่แพ้กับวินโดวส์เลย ^^


เริ่มจากการคลิกขวาที่หน้าdesktop แล้วลากเมาส์ไปที่ Apps
ในหน้าต่าง Apps ก็จะมีโปรแกรมต่างๆให้เลือกโดยจะแบ่งเป็นกลุ่มๆชัดเจนดังนี้
Editors = คือเกี่ยวกับพวกโปรแกรมคล้ายๆกับ notepad
Graphics = คือเกี่ยวกับโปรแกรมการตัดต่อรูป
Office = คือเกี่ยวกับโปรแกรมการจัดการทางด้านเอกสาร
Sound/MPEG/VoLP = คือเกี่ยวกับโปรแกรมทางด้านความบันเทิง

ขอลงรายละเอียดไปที่ Office เลยละกัน เนื่องจากทุกท่านน่าจะต้องใช้งานเป็นประจำ 
เมื่อคลิกแล้วก็จะมีโปรแกรมดังรูป

หน้าตาของโปรแกรม FlWriter

หมายเลข 1 คือ เซฟไฟล์สังเกตุจะเป็นรูปแผ่นดิสก์คล้ายๆกับ Ms Word เลย
หมายเลข 2 คือ ปริ้นเตอร์ เอาไว้สั่งพิมพ์เอกสาร
หมายเลข 3 คือ  กำหนดฟอนต์และขนาดตัวอักษร
หมายเลข 4 คือ การจัดการรูปแบบตำแหน่งของบทความ
หมายเลข 5 คือ การกำหนดลักษณะตัวอักษร B = ตัวหนา ,I = ตัวเอียง ,U = ขีดเส้นใต้
หมายเลข 6 คือ การย้อนกลับ
หมายเลข 7 คือ  การกำหนดว่าหน้าข้อความจะให้เป็นรูปแบบใด มีทัง ๐ และ 1,2,3,... ให้เลือก
หมายเลข 8 คือ  การกำหนดใส่สี      
หมายเลข 9 คือ การตรวจสอบการสะกดคำ    


วิธีการใชงาน File Browser ใน Hikarunix


ขั้นแรกให้เราดับเบิ้ลคลิกไปที่ไอคอน Emelfm ขึ้นมาเพื่อจัดการไฟล์

 
เมื่อเข้ามาแล้วก็จะพบหน้าต่างดังรูป

ตรงบริเวณกรอบสีส้ม    คือ หน้าต่างที่แสดงไดเรกทอรีของโฟลเดอร์และไฟล์ในเครื่อง
ตรงบริเวณกรอบสีเขียว คือ หน้าต่างคำสั่งในการจัดการไฟล์ ได้แก่
Edit = แก้ไขไฟล์
Copy = คัดลอกไฟล์หรือโฟลเดอร์
Move = เอาไว้ย้ายไฟล์หรือโฟลเดอร์
Rename = เปลี่ยนชื่อ
Create PDF = สร้างไฟล์ที่เลือกเป็น pdf
SymLink = สร้าง shortcut
Delete = เอาไว้ลบไฟล์
MkDir = สร้างโฟลเดอร์ใหม่
File Info = แสดงข้อมูลของไฟล์
Refresh = refresh
Configure = แก้ไขกำหนดค่า
Quit = ออกจากหน้าต่าง
ตรงบริเวณกรอบสีม่วง คือ หน้าต่างเอาที่ไว้พิมพ์คำสั่งการจัดการไฟล์แบบ Command line 
ซึ่งสะดวกมากสำหรับผู้ที่ถนัดใช้คำสั่งแบบ Command line เพราะว่าสามารถใช้ได้ 2 แบบ

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น